งานพิมพ์ดิจิตอล VS งานพิมพ์ออฟเซ็ท แตกต่างกันอย่างไร?
ความลับที่โรงพิมพ์อยากแนะนำ

ข้อได้เปรียบของงานพิมพ์ดิจิตอล และ งานพิมพ์ออฟเซ็ทที่หลายคนยังลังเลในการตัดสินใจ!

โบรชัวร์สินค้า

สำหรับการพิมพ์ออฟเซ็ทนั้นมีข้อได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีและเหมาะสมสำหรับงานทางธุรกิจหรือการพิมพ์ทางอุตสาหกรรม โดยสามารถพิมพ์บนกระดาษ, การ์ด, หรือสื่อพิมพ์อื่น ๆ ได้ตามความต้องการ สามารถเลือกใช้เฉดสีได้ค่อนข้างหลากหลายและทำหน้าที่แสดงผลของสีได้อย่างแม่นยำเที่ยงตรง ไม่บิดเบือนจากข้อมูลภาพต้นฉบับ ส่วนงานพิมพ์ดิจิตอลมีข้อได้เปรียบในด้านของความยืดหยุ่นในการแก้ไข โดยจะสามารถปรับแต่งภาพได้ง่าย ๆ และทำได้ในทันที และสามารถปรับแต่งภาพหลังจากพิมพ์ได้

เปรียบเทียบงานพิมพ์ดิจิตอล VS งานพิมพ์ออฟเซ็ท แบบครบจบเคลียร์ชัด!

งานพิมพ์ดิจิตอลและงานพิมพ์ออฟเซ็ทมีความแตกต่างกันในหลากหลายด้าน ทั้งในส่วนของการใช้งาน ประเภทของงาน และความเหมาะสมในการเลือกใช้ โดยจำแนกความแตกต่างของงนพิมพ์ทั้งสองได้ดังต่อไปนี้

  1. วิธีการพิมพ์ สำหรับการพิมพ์ดิจิตอลจะมีการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามา เพื่อสร้างสรรค์ภาพโดยไม่ต้องมีการสร้างแม่พิมพ์ในการถ่ายโอนภาพไปยังสื่อพิมพ์ เช่น กระดาษหรือผืนผ้า อย่างการพิมพ์ออฟเซ็ท

  2. ความละเอียด การพิมพ์ดิจิตอลเป็นงานพิมพ์ที่ค่อนข้างมีความละเอียดสูง สามารถพิมพ์ตัวอักษรขนาดเล็กและรายละเอียดภาพขนาดเล็กได้ดีกว่างานพิมพ์ออฟเซ็ท ที่มีความละเอียดสูง แต่อาจมีความจำกัดไม่สามารถเก็บรายละเอียดความคมชัดของงานพิมพ์ได้ดีเทียบเท่า

  3. ปริมาณการพิมพ์ ในการพิมพ์ออฟเซ็ทจะเหมาะสำหรับการพิมพ์งานในปริมาณมาก ๆ มีความสามารถในการผลิตขนาดใหญ่ ส่วนการพิมพ์
    ดิจิตอลจะเหมาะกับงานพิมพ์ปริมาณน้อยถึงปานกลาง แต่มีการปรับแต่งรายละเอียดได้ดีกว่า เน้นความยืดหยุ่นและความรวดเร็วของงานพิมพ์เป็นหลัก

  4. คุณภาพการพิมพ์ งานพิมพ์ดิจิตอลแต่ละงาน มักจะมีความเร็วและสามารถพิมพ์งานที่มีรายละเอียดสูงได้แบบงานต่องาน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความชัดเจน แต่บางครั้งอาจมีจำกัดในการเลือกสื่อพิมพ์เข้ามาประกอบร่วมด้วย ส่วนการพิมพ์ออฟเซ็ท จะมีความสามารถในการสร้างสีที่เข้ม เน้นคุณภาพที่ดี เหมาะสำหรับงานกราฟิกและภาพที่ต้องการความละเอียดสูง โดยสามารถใช้สื่อพิมพ์ได้ค่อนข้างหลากหลายมากกว่า

  5. เวลาในการผลิต การพิมพ์ดิจิตอลจะสามารถผลิตงานได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานที่ต้องการผลลัพธ์ในเวลาทันทีทันใด ใช้เวลาในการพิมพ์งานที่น้อย ตรงกันข้ามกับการพิมพ์ออฟเซ็ท ที่อาจใช้ระยะเวลาที่นานกว่า เพราะต้องมีการเตรียมแผ่นพิมพ์และการตั้งค่าที่ละเอียดซับซ้อนมากกว่า จึงใช้ระยะเวลาในการพิมพ์ที่มากกว่า

  6. ต้นทุน หากเป็นงานพิมพ์ที่มีปริมาณเนื้องานน้อย โดยเน้นการพิมพ์ที่มีรายละเอียดสูง ๆ การเลือกใช้การพิมพ์ดิจิตอลจะคุ้มค่าและเหมาะสมมากกว่า ไม่ต้องมีการตั้งค่าในการเตรียมแผ่นพิมพ์ ส่วนการพิมพ์ออฟเซ็ทจะมีค่าใช้จ่ายต่ำหากพิมพ์งานในปริมาณมาก ๆ แต่จะมีค่าในการเตรียมแผ่นพิมพ์เพิ่มเติม

  7. ความยืดหยุ่นในการออกแบบ ในการพิมพ์ดิจิตอลมักจะมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งและการทดสอบสีได้ดีกว่า จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการการแก้ไขและปรับปรุงในระหว่างการผลิตงาน เพื่อปรับให้ได้ภาพพิมพ์ที่มีคุณภาพและมีสัดส่วนของภาพที่เหมาะสมกับขนาดของวัสดุหรือพื้นผิดที่ต้องการพิมพ์ภาพ ส่วนการพิมพ์ออฟเซ็ทอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นลดน้อยลง

  8. สื่อพิมพ์ สำหรับการพิมพ์ออฟเซ็ทจะสามารถทำในหลายสื่อพิมพ์ เช่น กระดาษ, สติ๊กเกอร์, หรือผ้า ทำให้มีความหลากหลายในการนำไปใช้งาน ซึ่งจะแตกต่างกับการพิมพ์ดิจิตอลที่มีข้อจำกัดในการพิมพ์ที่หลากหลายมากกว่า โดยสามรถพิมพ์ลงบนวัสดุหลากหลายพื้นผิว รวมไปถึงพื้นที่การพิมพ์ไม่จำเป็นต้องมีความเรียบแบนเพื่อรองรับแพทเทิลการพิมพ์ ทำให้ค่อนข้างสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี

การเลือกใช้วิธีการพิมพ์จะขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของงาน หากต้องการงานพิมพ์น้อย ๆ เน้นการปรับแต่งรายละเอียดการพิมพ์ดิจิตอลอาจเป็นตัวเลือกที่ดี แต่หากมีปริมาณการพิมพ์มาก ๆ โดยเน้นคุณภาพที่ดี การพิมพ์ออฟเซ็ทอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่า

เอ็นทีที เพรส (NTT PRESS) รับออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิดครบวงจร เปิดให้บริการมากกว่า 15 ปี บริการด้านงานพิมพ์ทุกชนิด อาทิเช่น พิมพ์ซอง พิมพ์ปฎิทิน พิมพ์ใบปลิว พิมพ์บิล พิมพ์คูปอง พิมพ์แฟ้มกระดาษ พิมพ์หนังสือ แคตตาล็อกสินค้า สติ๊กเกอร์สินค้า ป้ายสแตนดี้ โบรชัวร์สินค้า อุปกรณ์ออกบูธ กล่องบรรจุภัณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมายแบบครบวงจร การันตีคุณภาพการให้บริการและผลงานประทับใจจากผู้ใช้บริการมากกว่า 20,000 รายทั่วประเทศ พร้อมให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยความจริงใจ ใส่ใจคุณภาพทุกขั้นตอน และจัดส่งถึงมือท่านด้วยความรวดเร็ว

สนใจผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ติดต่อโรงพิมพ์ เอ็นทีที เพรส (NTT PRESS)